ซื้อหรือเช่าถังดีกว่ากัน

เมื่อต้องเลือกใช้งานถังออกซิเจน จะซื้อหรือเช่าดี เป็นปัญหาที่ตัดสินใจยาก ลังเลใจ เหลือเกิน หลากหลายความกังวลที่ต้องเผชิญ วันนี้เมดิคอกซ์ได้รวบรวมเหตุผลต่างๆที่จะช่วยทำให้ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนที่บ้านตามคำแนะนำแพทย์เปรียบเทียบและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

หากการให้ออกซิเจนบำบัดเป็นแบบให้เมื่อมีอาการ(Short burst) เช่นผู้ที่ปัญหาจากภาวะหลอดเลือด, โรคหัวใจ, Cluster headache(อาการปวดหัวแบบเฉียบพลันรุนแรง มักเกิดซ้ำในช่วงเวลาเดิมๆในระหว่างรอบระยะเวลาหรือ อาจจะมีอาการปวดหัวในช่วงเวลาหรือตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี), หรือฯลฯ (โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษา) แพทย์แนะนำให้ใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้านแบบเมื่อมีอาการ
ดังนั้นเมื่อแพทย์แนะนำให้ใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้านลำดับถัดมาผู้ใช้งานจะเลือกใช้แหล่งกำเนิดออกซิเจนแบบใดก็จะพิจารณาจากการสั่งการรักษาด้วยออกซิเจนการแพทย์ โดยแพทย์เป็นสำคัญและหากเป็นการใช้งานเมื่อมีอาการ โดยปกติก็จะเป็นการเลือกใช้ออกซิเจนการแพทย์บรรจุถังเนื่องจากเป็นออกซิเจนแบบเดียวกับที่ให้ที่โรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติออกซิเจนการแพทย์บรรจุถังจะเป็นออกซิเจนแบบเดียวที่ดีที่สุดสำหรับการใช้บำบัดที่บ้านเนื่องจากเป็นออกซิเจนที่เป็นเกรดการแพทย์ (Medical Grade) อุปกรณ์ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก มีความรู้ด้านเทคนิคไม่มากก็สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ได้ผลการรักษาที่ดี ทั้งนี้ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาของการใช้งานจะเป็นเพียงข้อจำกัดเดียวของออกซิเจนบรรจุถัง ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้งานออกซิเจนการแพทย์แบบถังความดัน จึงต้องพิจารณาคำแนะนำการให้ออกซิเจนจากแพทย์เป็นลำดับแรก


ประเด็นของการใช้ถังซื้อหรือเช่าดี ผู้ใช้งานออกซิเจนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อถัง เพราะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าที่จะได้รับมากกว่า ดังคำกล่าวที่ว่า "ซื้อดีกว่าเช่า" เพราะมองว่าการเช่า เป็นค่าใช้จ่ายแบบต่อเนื่อง คำกล่าวนี้อาจไม่เป็นความจริงเสมอไปกรณีที่เราต้องการใช้งานถังออกซิเจนหรือถังก๊าซ หรือกังวลว่าการใช้งานถังก๊าซโดยเฉพาะออกซิเจนการแพทย์เป็นการใช้งานร่วมกับผู้อื่นแล้วทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้งานซึ่งเป็นข้อกังวลที่ไม่เป็นความจริงในการใช้งานถังร่วมกัน เนื่องจากการใช้ก๊าซจะเกี่ยวข้องกับกับก๊าซที่บรรจุภายในดังนั้นข้อกังวลด้านการปนเปื้อนในการใช้งานร่วมกัน จึงไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากการใช้ถังก๊าซด้วยกันไม่เหมือนกับการบริโภคหรือดื่มหรือรับประทานอาหารร่วมกัน เพราะถังก๊าซจะได้รับการทำความสะอาดก่อนถึงมือผู้ใช้งานท่านถัดไป และก๊าซภายในถังก็ไม่สามารถปนเปื้อนได้เนื่องจากก๊าซถูกบรรจุด้วยความดันสูงซึ่งจัดเป็นภาชนะแรงดันบวก ทำให้ข้อกังวลต่างๆ ที่ผู้ใช้งานกังวลจึงไม่เป็นความจริง


ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องการใช้งานถังออกซิเจนการแพทย์ การเช่าใช้งานถังออกซิเจนกลับไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่เป็นแนวคิดที่มีอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งถังออกซิเจนจัดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้ชำนาญการเฉพาะ การเลือกการเช่าถังจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการใช้ถังบรรจุก๊าซออกซิเจนการแพทย์อย่างปลอดภัย และลดภาระแก่ผู้ใช้งาน

ข้อควรจำ

  1. ความปลอดภัยของถังก๊าซ ขึ้นอยู่กับการส่งถังทดสอบตามข้อกำหนดความปลอดภัย

  2. ถังก๊าซผลิตใหม่จากผู้ผลิตต้องได้รับการทดสอบถังก่อนนำจำหน่ายทุกถังที่มีการผลิต

  3. ถังก๊าซสภาพใหม่ ไม่ได้บ่งบอกว่าถังก๊าซของท่านจะปลอดพร้อมใช้งาน ถังที่พร้อมใช้งานหมายถึงถังที่ได้รับการผลิตและทดสอบแล้วว่าเป็นไปตามข้อกำหนดความปลอดภัยของกรมโรงงาน

  4. ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซเมื่อนำมาบรรจุก๊าซ ก๊าซที่บรรจุอาจทำปฏิกิริยากับตัวถังได้เช่่น ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งจะทำให้ถังสูญเสียมวลและลดทอนความแข็งแรง

5 ขั้นตอนใช้ถังออกซิเจนอย่างไร ปลอดภัยไร้กังวล

เกิดถังก๊าซระเบิดคราวใด ก็มักจะเป็นข่าวใหญ่ทุกครั้ง และสร้างผลกระทบกับผู้ใช้งานถังก๊าซทุกประเภท ทุกคน การใช้งานถังก๊าซเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้สังคมเราส่วนใหญ่เสมอมา แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ถังก๊าซได้พ้น นี่่คือเคล็ดลับง่ายๆที่จะทำให้ คุณใช้ถังก๊าซได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล

  1. ทำความรู้จักก๊าซที่ใช้งานอยู่ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
    เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราต้องทำความรู้จักคุณสมบัติของก๊าซนั้นๆว่าเป็นอย่างไรนอกจากรู้ประโยชน์ของก๊าซนั้นๆ คุณสมบัติของก๊าซได้แก่ ก๊าซที่ใช้งานเมื่อบรรจุในถังเป็นของเหลวหรือหรือยังคงสถานะก๊าซ ,ติดไฟหรือไม่ติดไฟ หรือช่วยให้ติดไฟ, กัดกร่อนหรือไม่, การรวมตัวกับสสารจะเกิดปฏิกิริยาอะไร, มีกลิ่นหรือไม่อย่างไรเป็นต้น สมบัติทั่วไปของก๊าซจะเป็นข้อมูลสำคัญทึ่ช่วยให้เราสามารถใช้ก๊าซนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

  2. คำความเข้าใจในการใช้งานภาชนะบรรจุก๊าซที่ใช้อยู่
    ต้องรู้ว่าภาชนะบรรจุก๊าซที่ใช้อยู่ได้มาตรฐานและเป็นตามข้อกำหนดความปลอดภัย ซึ่งจะปรากฎสัญลักษณ์และตัวหนังสือบนตัวถัง กรณีถังออกซิเจนต้องเป็นถังเหล็กหรืออลูมิเนียมโดยมีสัญลักษณ์และข้อความที่ระบุที่ตัวถังดังนี้
    1.แรงดันทดสอบ TP (Test Pressure) 250 bar หรือ 25 MPa
    2.แรงดันใช้งาน WP (Working Pressure) 150 bar หรือ 15 MPa ทั้งนี้อาจมีการใช้งานด้วยสัญลักษณ์อื่นๆ ได้ เช่น Service Pressure กรณีถังไม่ได้ระบุไว้ จะต้องมีใบรับรองประกอบ หรือหากไม่มีการระบุ แต่หากถังนั้นมีสีและวาล์วสำหรับการใช้งานกับออกซิเจน ควรส่งทดสอบก่อนนำมาใช้งาน
    3.ถังต้องระบุสัญลักษณ์ O2 การที่มีสัญลักษณ์นี้ระบุที่ตัวถังทำให้เรามั่นใจได้ว่า ถังนั้นจะไม่ถูกนำไปบรรจุก๊าซอื่นๆ นอกจากออกซิเจนหรือออกซิเจนการแพทย์เท่านั้น สมบัติของก๊าซบางประเภทอาจส่งผลต่อคุณภาพตัวถังหรือภาชนะ เนื่องจากหากถังนั้นไม่ได้มีสัญลักษณ์นี้อาจจะเป็นถังที่มีการนำไปบรรจุก๊าซชนิดอื่นๆก่อนนำมาบรรจุออกซิเจน เช่น ถังไนโตรเจน ถังก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือถัง คาร์บอนไดออกไซด์
    4.สัญลักษณ์ที่ระบุ ควรตอกลงไปในเนื้อถังบริเวณบ่าถังอย่างชัดเจน หลีกเลี่ยงถังที่มีการระบุตัวหนังสือเลือนลาง เนื่องจากผู้ผลิตอาจไม่ทำตามเงื่อนไขความปลอดภัย
    5.สัญลักษณ์บอกเดือนปีที่ทดสอบแรงดันตามข้อกำหนด สัญลักษณ์บอกเดือนปี เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บอกระยะเวลาที่ทำการทดสอบไว้และควรต้องทดสอบซ้ำตามข้อกำหนด การนำถังไปใช้ในพื้นที่พิเศษเช่นในทะเล หรือในพื้นที่ที่มีแรงดันบรรยากาศต่ำควรได้รับการทดสอบด้วยเงื่อนเวลาที่เร็วขึ้น จากข้อกำหนดปกติ

    หมายเหตุ:


    • 1. การทดสอบถังกรณีเป็นถังบริการของเมดิคอกซ์ เมดิคอกซ์เป็นผู้รับผิดชอบในการทดสอบถังและดูแลสภาพถังให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยพร้อมใช้งาน ทั้งนี้กรณีถังบรรจุออกซิเจนเป็นของผู้ใช้งานจะไม่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยของเมดิคอกซ์

    • 2. เมดิคอกซ์ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาการบรรจุออกซิเจนตามมาตรการความปลอดภัยให้เป็นไปตามข้อกำหนดความปลอดภัย โดยกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม

    • 3. การทดสอบถังควรกระทำทุก 5 ปี หรือเป็นไปตามข้อกำหนดความปลอดภัย วัสดุที่ใช้ผลิตถังอาจทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งทำให้ถังหรือภาชนะสูญเสียมวล การทำการทดสอบถังตามเงื่อนไขความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้งานมันใจได้ว่าถังจะยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ปลอดภัยต่อการบรรจุและใช้งาน

  3. จัดเก็บภาชนะบรรจุก๊าซไว้ในที่ร่มอากาศถ่่ายเทสะดวก
    ภาชนะบรรจุก๊าซความดัน เมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงแรงดันในถังจะเพิ่มขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความดันที่สูงจนเกินไปซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการใช้งานคลาดเคลื่อน หรืออาจส่งผลให้วาล์วนิรภัยทำงานโดยไม่จำเป็น การนำถังไว้ในที่ร่ม จึงเป็นการหลีกเลี่ยงการปัญหาดังกล่าว รวมถึงถังควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีนั่นก็เพราะว่า หากวาล์วนิรภัยเกิดทำงานโดยไม่จำเป็นก็จะทำให้ก๊าซที่รั่วไหลออกมาสามารถเจือจางได้เร็วขึ้น

  4. ตรวจสอบภาขนะบรรจุตามข้อกำหนดความปลอกภัยของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
    ทุก 5 ปี จากเดือนปีที่ทดสอบครั้งสุดท้ายที่ระบุที่บ่าถัง ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของภาชนะหรือถังบรรจุก๊าซนั้นควรส่งถังทดสอบ เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าถังนั้นปลอดภัยพร้อมใช้งาน รวมถึงเพื่อเป็นการทำความสะอาดภายในถังกรณีที่ถังนั้นอาจเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การทำการทดสอบถัง (Hydrostatic testing) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับถังออกซิเจนหรือถังก๊าซการแพทย์

เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทุกคนสามารถใช้งานถังก๊าซที่บ้านได้อย่างปลอดภัย และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาที่ Medicox Oxygen Line:0-2212-6788 หรือ 0-2718-1218 ได้ในเวลาทำการ

การใช้ออกซิเจนการแพทย์ในผู้ป่วยที่บ้าน ตามคำสั่งแพทย์

ออกซิเจนการแพทย์บำบัด และการใช้ออกซิเจนเพื่อการรักษา

นี่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการใช้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen Therapy) แต่ก็อาจมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ออกซิเจนบำบัด และ บางคนก็อาจยังสงสัยว่าทำไมหมอจึงสั่งการบำบัดออกซิเจนให้ตนเองหรือ คนในบ้านต้องใช้ออกซิเจนบำบัด เราอาจไม่แปลกใจนักหากแพทย์มีการสั่งให้ออกซิเจนบำบัดที่โรงพยาบาล เพราะการให้ออกซิเจนที่โรงพยาบาลดูจะเป็นภาพปรกติที่เราสามารถเห็นได้จนชิน จากในภาพยนตร์ แต่การให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้านเราอาจไม่เคยพบเห็นได้เลยในชีวิตประจำวัน


ปัจจุบันแพทย์มักจะสั่งให้ออกซิเจนที่บ้านหากผู้ป่วยในรายนั้นๆมีอาการคงที่และพร้อมที่จะกลับไปรักษาตัวที่บ้าน แพทย์จะอนุญาติให้กลับได้แต่ถ้าหากผู้ป่วยยังอาจมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) หรือมีภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Chronic Hypoxia) แพทย์ก็มักมีคำแนะนำให้มีการใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน ซึ่งสาเหตุที่ต้องแนะนำนั้นมาจากออกซิเจนการแพทย์ (Medical Oxygen) ยังไม่ถูกกำหนดว่าเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ดังนั้นออกซิเจนจึงไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อยาที่สามารถเบิกจ่ายจากระบบประกันสุขภาพได้


ดังนั้น...การจัดการแหล่งกำเนิดออกซิเจนการแพทย์ที่เหมาะสมเพื่อให้การบำบัดยังคงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย และไม่ให้การใช้ออกซิเจนการแพทย์บำบัดที่บ้านเป็นปัญหาใหญ่กับฐานะการเงินของเรามากจนเกินไป จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและจัดการการใช้ออกซิเจนการแพทย์ที่บ้านให้เหมาะสม วิธีเลือกแหล่งกำเนิดออกซิเจนการแพทย์ เมื่อต้องกลับไปใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน

ออกซิเจนบรรจุกระป๋อง ไม่เหมือนน้ำดื่มบรรจุขวด

ใครที่คิดว่าออกซิเจนบรรจุกระป๋องเหมือนน้ำดื่มบรรจุขวด คุณกำลังคิดผิด มุมมองที่ถูกต้องจะช่วยทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ออกซิเจนบำบัดได้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง

credit:@
                                        rawpixel.comในขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญปัญหามลภาวะทางอากาศที่ย่ำแย่ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ออกซิเจนบรรจุกระป๋องจะเหมือนน้ำดื่มบรรจุขวด

ออกซิเจนกระป๋อง (Canister Oxygen) หรือ (Oxygen Shot) เป็นรูปแบบหนึ่งในการบรรจุออกซิเจนเกรดการแพทย์ (Medical Oxygen)โดยออกซิเจนที่บรรจุเป็นออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ 90-95% โดยมีการบรรจุตามออกซิเจนเกรดการแพทย์(โดยปกติจะมีความบริสุทธิ์ที่ 99.5%ขึ้นไป)


รูปแบบออกซิเจนกระป๋องสามารถแบ่งออกได้ตามการใช้งาน ซึ่งปกติจะเป็นการให้ทางหน้ากากหรือฉีดพ่นทางปาก

  1. ให้ออกซิเจนโดยการพ่นผ่านหน้ากาก เป็นหน้ากากครอบจมูกและปาก มีทั้งแบบมีท่อยางและหน้ากากติดกระป๋องหรือหน้ากากครอบที่เป็นทั้งฝากปิดและหน้ากากครอบให้ออกซิเจน

  2. Canister Oxygen:Australia made

    ออกซิเจนกระป๋องแบบมีหน้ากากครอบปากในตัวใช้ครอบปากผู้ใช้แล้วออกแรงดันกระป๋องเข้าหาตัว เมื่อออกซิเจนถูกปล่อยออกจากกระป๋องให้่ผู้ใช้งานสูดหายใจเข้าแล้วกลั้นลมหายใจนับ 1-3 ในใจแล้วผ่อนลมหายใจ ทำซ้ำแบบเดิม 2-3 ครั้ง


  3. ให้ออกซิเจนโดยการฉีดผ่านทางปาก (Oral Sprey) เป็นออกซิเจนแบบกระป๋องที่ใช้ฉีดพ่นทางปากเพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย

  4. Oxia ออกซิเจนกระป๋องชนิด refill ได้ มีขนาดเล็กพกพาสะดวก ปรกติบรรจุออกซิเจนการแพทย์ความบริสุทธิ์ 90% การใช้งาน เป็นแบบ Oral Sprey หรือฉีดพ่นทางปาก โดยทางผู้ผลิตให้ข้อมูลว่า สามารถเสริมการทำงานและฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจหลังออกกำลังกาย ทั้งนี้วิธีการใช้งานเป็นแบบการใช้งานแบบ Oxygen Shot ทั่วไป


จากคุณสมบัติของก๊าซออกซิเจนเมื่อบรรจุกระป๋องจึงมีความจำเป็นต้องมีแรงดันเข้ามากเกี่ยวข้อง โดยมีแรงดันประมาณ 10 ปอนต์ต่อตารางนิ้ว ทำให้ภาชนะบรรจุอย่างกระป๋องบรรจุจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพ และต้องเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งต่างน้ำบรรจุขวดที่ไม่ต้องมีการควบคุมทางด้านนี้


ภาชนะบรรจุที่ต้องควบคุมแรงดันหมายถึงภาชนะที่ต้องสามารถทดต่อแรงดันที่บรรจุของสิ่งที่บรรจุได้ แรงดัน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นแรงดันที่ทำอันตรายต่อผู้ใช้งานได้หากมีการวัสดุทึ่ใช้งานไม่มีคุณภาพที่ดีพอตรงตามมาตรฐาน


ในแง่ของการใช้งาน ออกซิเจนกระป๋องถูกใช้ในลักษณะของยาแบบหนึ่งที่มีสถานะเป็นก๊าซ เป็นยาที่ใช้แก้พิษจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ได้จากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงมีการใช้เพิ่มออกซิเจนในเลือดในกลุ่มนักกีฬาอาชีพเพื่อให้ระบบทางเตินหายใจไม่ทำงานหนักจนเกินไป ให้กลับมาหายเหนื่อยได้รวดเร็วขึ้น

ในเขตท่องเที่ยวอย่างที่สูงเชียงการีล่า ประเทศจีนมีการให้ใช้ออกซิเจนกระป๋องสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาว่าการใช้ออกซิเจนแบบ shot สามารถบรรเทาภาวะ อากาศเบาบางในที่สูงได้ Altitude Sickness ทั้งนี้ปรกติการใช้งานออกซิเจนลักษณะนี้เป็นแบบการให้ต่อเนื่อง และในบางรายไม่มีความจำเป็นต้องให้ออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์สูง ดังนั้นกับความเข้าใจที่ว่าออกซิเจนกระป๋อง เหมือนน้ำบรรจุขวด เมื่อหายใจไม่ออกใช้ออกซิเจนกระป๋องกับกระหายน้ำซื้อน้ำดื่มบรรจขวดมาดับกระหาย จึงมีความหมายไม่เหมือนกัน

Source: https://chat.openai.com

Edited&Arrange: Medicox Technical Support Team

ปฎิบัติอย่างไรหากยังต้องการเก็บถังออกซิเจนการแพทย์ไว้ใช้ที่บ้าน

เตรียมชุดถังออกซิเจนการแพทย์ พร้อมรับมือโควิดระลอกใหม่

โควิด-19 โรคระบาดอุบัติใหม่ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ จนส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะพร่องออกซิเจน และแพทย์ต้องสั่งให้ออกซิเจนบำบัดแกผู้ป่วยที่บ้าน ภายหลังผ่านการรักษาจากภายในโรงพยาบาลแล้ว โดยเฉพาะโควิด-19 ที่เป็นผลมาจาก SARS-CoV-2 ไวรัสสายพันธุ์ Delta และเมื่อการระบาดมีแนวโน้มลดลงจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อจนสามารถมีภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ว่ามันจะไม่กลับมาอีกและจะกลายพันธุ์รุนแรงขึ้นหรือไม่ การเตรียมรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ในอนาคต และการมีถังออกซิเจนการแพทย์ไว้ที่บ้านเพื่อสำรองไว้ก็อาจมีความจำเป็น ดังนั้นเราจะมาดูวิธีการเก็บรักษาถังออกซิเจนที่ถูกต้องกันว่า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีถังออกซิเจนการแพทย์ไว้พร้อมใช้งานเมื่อถึงคราวจำเป็นนั้น

หลักการจัดเก็บถังออกซิเจนการแพทย์ให้คำนึงถึงหลักการ 2 อันตราย อันได้แก่ "โอและพี"(Oxygen)และ(Pressure)หรือ ออกซิเจนและความดัน
(O) อันตรายจากตัวก๊าซออกซิเจน ด้วยคุณสมบัติการช่วยให้ไฟติดหรือการออกซิไดซ์ (Oxidizing)จึงมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาให้ห่างไกลสารหรือวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงหรือสารที่ก่อให้เกิดการออกซิเดชั่น โดยเฉพาะน้ำมันและสารหล่อลื่นทุกประเภท ดังนั้นการเก็บภาชนะบรรจุต้องอยู่ห่างสิ่งเหล่านี้
(P)อันตรายจากแรงดัน ถังออกซิเจนการแพทย์จัดเป็นภาขนะบรรจุก๊าซแรงดันสูง โดยมีแรงดันสูงถัง 1,500-2,200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(psi)
แล้วแรงดันนี้สูงขนาดไหน?
ในบ้านเรานิยมการวัดแรงด้นก๊าซเป็นหน่วยปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Pound per inch) และจะเรียกสั้นๆว่า "ปอนด์" หากเราเปรียบเทียบแรงดันของออกซิเจนที่บรรจุถังกับแรงดันของลมยางรถยนต์ ตามปรกติเราจะเติมลมยางรถยนต์โดยเฉลี่ยประมาณ 40 ปอนด์ จะเห็นว่าถังออกซิเจนจะต้องรับแรงดันบรรจุสูงถึง 37-55 เท่าของยางรถยนต์ ดังนั้นกรมโรงงานจึงกำหนดให้ถังก๊าซออกซิเจนรวมถึงก๊าซแรงดันสูงทุกประเภท ต้องทำการทดสอบแรงดันก่อนนำมาใช้งานต่อ ทุกๆ 5 ปี โดยนับจากปีทดสอบครั้งล่าสุดที่ระบุลงบนบ่าถัง และนี่คือหนึ่งในข้อความปลอดภัยสำคัญที่ใช้กำหนดว่าถังแรงดันสูงใบนั้นๆ พรัอมที่จะนำมาบรรจุได้ใหม่หรือไม่
กรณีที่ถังใบนั้นผ่านการทดสอบ ก็จะผ่านกระบวนการทำความสะอาดเพื่อนำมาบรรจุออกซิเจนใหม่อีกครั้ง และจะถูกใช้ซ้ำไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าถังออกซิเจนใบนั้นจะไม่ผ่านการทดสอบ
tested date mark จากภาพตามตัวอย่างจะเห็นว่า มีสัญลักษณ์การทดสอบถังตอกลงบนเนื้อถัง ซึ่งระบุเดือนปีที่ทดสอบถังและสัญลักษณ์ของโรงงานที่ทำการทดสอบถัง จากภาพตัวอย่าง ระบุเดือนทดสอบเดือน 11 ปี 2018 ดังนั้นจะครบกำหนดการทดสอบครั้งถัดไปเมื่อ เดือน 11 ปี 2023 หากเข้าใจหลักการ 2 ข้อนี้ ก็สามารถมีถังออกซิเจนสำรองที่บ้านได้

การเตรียมถังออกซิเจนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

  1. ตรวจสอบแรงดันภายในถังอย่างสม่ำเสมอ การที่ถังมีแรงดันภายในหมายถึงถังใบนั้นมีออกซิเจนพร้อมใช้งาน แรงดันควรมีไม่ต่ำกว่า 1000 ปอนด์(psi)เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน การตรวจสอบแรงดัน กระทำโดยหมุนปิดปุ่มปรับอัตราให้ออกซิเจน เปิดวาล์วที่หัวถังช้า จากนั้นอ่านค่าจากหน้าปัทม์เกจบอกแรงดัน

  2. ครวจสอบอุปกรณ์หายใจให้พร้อมอยู่เสมอ อุปกรณ์หายใจมีอายุเหมือนยา อ่านฉลากสังเกตุวันหมดอายุที่ระบุ กรณีไม่มีวันหมดอายุให้ยึดวันที่ซื้อมา ปกติจะมีอายุ 3 ปี

  3. กระบอกให้ความชื้นหากไม่มีการใช้งานให้เก็บในที่แห้งเสมอ อาจล้างทำความสะอาดแล้วห่อด้วยฟิล์มแรปถนอมอาหาร กรณีต้องการใช้งานให้เติมน้ำดื่มต้มสุกแทนน้ำสเตอไรล์ โดยเติมในระดับต่ำสุด ทั้งนี้การให้ออกซิเจนในระดับอัตราให้ไม่เกิน 4 ลิตรต่อนาที ต่อเนื่องไม่เกิน 20 นาที สามารถงดให้ความชื้นได้


การให้ออกซิเจนการแพทย์เป็นการใช้ยาแบบหนึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพก่อนทุกครั้งเมื่อมีการใช้งาน"


บริการออกซิเจนการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่บ้าน ตามคำสั่งแพทย์

ออกซิเจนการแพทย์บำบัด การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา

นี่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการใช้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen Therapy) แต่ก็อาจมีอีกหลายต่อหลายคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ออกซิเจนบำบัด และ บางคนก็อาจยังสงสัยว่าทำไมหมอจึงสั่งการบำบัดออกซิเจนให้ตนเองหรือ คนในบ้านต้องใช้ออกซิเจนบำบัด เราอาจไม่แปลกใจนักหากแพทย์มีการสั่งให้ออกซิเจนบำบัดที่โรงพยาบาล เพราะการให้ออกซิเจนที่โรงพยาบาลดูจะเป็นภาพปรกติที่เราสามารถเห็นได้จนชิน จากในภาพยนตร์ แต่การให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้านเราอาจไม่เคยพบเห็นได้เลยในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันแพทย์มักจะสั่งให้ออกซิเจนที่บ้านหากผู้ป่วยในรายนั้นๆมีอาการคงที่และพร้อมที่จะกลับไปรักษาตัวที่บ้าน แพทย์จะอนุญาติให้กลับได้แต่ถ้าหากผู้ป่วยยังอาจมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) หรือมีภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Chronic Hypoxia) แพทย์ก็มักมีคำแนะนำให้มีการใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน ซึ่งสาเหตุที่ต้องแนะนำนั้นมาจากออกซิเจนการแพทย์ (Medical Oxygen) ยังไม่ถูกกำหนดว่าเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ดังนั้นออกซิเจนจึงไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อยาที่สามารถเบิกจ่ายจากระบบประกันสุขภาพได้ ดังนั้น...การจัดการแหล่งกำเนิดออกซิเจนการแพทย์ที่เหมาะสมเพื่อให้การบำบัดยังคงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย และไม่ให้การใช้ออกซิเจนการแพทย์บำบัดที่บ้านเป็นปัญหาใหญ่กับฐานะการเงินของเรามากจนเกินไป จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและจัดการการใช้ออกซิเจนการแพทย์ที่บ้านให้เหมาะสม วิธีเลือกแหล่งกำเนิดออกซิเจนการแพทย์ เมื่อต้องกลับไปใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน

เตรียมถังออกซิเจน เตรียมตัวกลับบ้าน

การวางแผนการใช้ออกซิเจนที่บ้าน

เมื่อแพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน นั่นเป็นสัญญาณแสดงว่าอาการป่วยของผู้ป่วยได้คงที่แล้ว และการกลับบ้านมักจะมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักดีใจที่จะได้กลับไปอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัวอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น และสุขภาพกายก็จะดีขึ้นตามมาด้วย แน่นอนเนื่องจากผู้ป่วยยังถือว่าอยู่ในภาวะป่วยอยู่ จึงมักจะใช้ชีวิตอย่างปรกติไม่ได้เช่นเดิม ญาติเองก็อาจจะรู้สึกกังวลใจอยู่ไม่น้อย แตนั่นไม่ได้หมายความว่าความไม่ปรกตินี้จะทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ เพียงแต่ทุกคนเรียนรู้ที่จะดูแล เข้าใจ ภาวะของอาการป่วยนั้นร่วมกัน


การที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนการแพทย์ที่บ้าน นั่นหมายถึงว่าผู้ป่วยมีภาวะพร่องออกซิเจนที่คงที่ดีแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยจึงกลับบ้านได้ แต่ต้องมีการให้ออกซิเจนเพื่อรักษาภาวะพร่องออกซิเจนด้วย การให้ออกซิเจนนั้น เหมือนกับการให้ยา ในบางประเทศจะถือว่าออกซิเจนการแพทย์คือยา นั่นคือผู้ป่วยจะรับยาและออกซิเจนตามแผนการรักษาของแพทย์ ดังนั้นญาติและผู้ป่วยไม่ควรมีความกังวลจนมากเกินไปในการใช้ออกซิเจน เพราะเมื่อภาวะพร่องออกซิเจนหมดไปแพทย์ก็จะสั่งลดอัตราการรับหรือสั่งหยุดให้ออกซิเจน เช่นเดียวกับยา


แล้วจะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี?


< class="content-detail" style="text-indent: 50px;">ก่อนท่านจะพาผู้ป่วยกลับบ้านท่านต้องสอบถามหรือรับทราบแผนการรักษา และการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่บ้าน รวมถึงวิธีการประเมินอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น จากแพทย์หรือ พยาบาลก่อน ทำความเข้าใจให้ดี ไม่เข้าใจตรงไหนต้องสอบถาม และสำหรับการใช้ออกซิเจนนั้น ท่านจะต้องทราบข้อมูลต่างๆต่อไปนี้
  1. อัตราการไหล (Flow rate) ของออกซิเจนที่จะให้ผู้ป่วย

  2. ระยะเวลาและจำนวนครั้ง ในการให้ใน 1 วัน

  3. เทคนิคการให้ออกซิเจน (อุปกรณ์หายใจ)

  4. กิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ และกิจกรรมที่แพทย์สั่งให้ทำสม่ำเสมอ เช่นการออกกำลังกาย

  5. การพ่นยา (ซึ่งจะต้องมีคำถามเพิ่มเติมดังต่อไปนี้)

    • อัตราการไหลของออกซิเจนที่ใช้ในการพ่นยา

    • ระยะเวลาและจำนวนครั้งในการพ่นยา (Aerosal therapy) ใน 1 วัน

    • ข้อแนะนำสำคัญอื่นๆในการพ่นยา

เมื่อท่านทราบข้อมูลต่างๆ แล้วจึงจะสามารถวางแผนในในการใช้ออกซิเจนที่บ้านได้ โดยสามารถขอคำปรึกษาการใช้ออกซิเจนที่บ้านผ่าน
MedicOx Oxygen Line : 0-2718-1218
หรือ 0-2212-6788
ในวันและเวลาทำการ
จันทร์ - ศุกร์ 8.30-16.30น.
เสาร์-อาทิตย์ 8.30-16.00น.

จะเลือกแหล่งกำเนิดออกซิเจนแบบไหนดี

การเลือกแหล่งกำเนิดออกซิเจน

การเลือกแหล่งกำเนิดออกซิเจนที่จะใช้ที่บ้านนั้น จะขึ้นอยู่กับข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการให้ออกซิเจน มาพิจารณา การวางแผนการใช้ออกซิเจนบำบัดที่บ้านที่ดีหมายถึงการรักษาได้ผลตามแผนการรักษาของแพทย์และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ออกซิเจนบำบัดในระยะยาวหรือระยะสั้น

สูง ค่าใช้จ่ายออกซิเจนบำบัด
เหมาะสม
ไม่ได้ผล ได้ผลดี
ผลลัพธ์การใช้ออกซิเจนบำบัด
  1. แหล่งกำเนิดออกซิเจนหลัก สำหรับการให้ออกซิเจนในภาวะปกติ

  2. แหล่งกำเนิดออกซิเจนสำรอง และ/หรือเพื่อการเคลื่อนที่ การทำกิจกรรมต่างๆ ใช้กรณีสำรองเมื่อแหล่งกำเนิดหลักให้ออกซิเจนไม่ได้ หรือใช้ในการเคลื่อนย้าย การทำกิจกรรม รวมถึงอาจใช้ในการบำบัดละอองฝอย(พ่นยา)

เลือกใช้แหล่งกำเนิดออกซิเจนแบบใดจะขึ้นอยู่กับ แผนการรักษา และค่าใช้จ่าย

การให้ออกซิเจนระดับต่ำแบบระยะยาว (Low flow-long term oxygen therapy)

อัตราให้(lpm) ระยะเวลาให้ สภาพผู้ป่วย แหล่งกำเนิดปกติ แหล่งกำเนิดสำรอง
0-1.5 15-24 ชม. ทำกิจกรรมได้หรือติดเตียง ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว หรือเล็กกว่า
2-3 15 ชม. ทำกิจกรรมได้ ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว หรือเล็กกว่า
2-3 24 ชม. ทำกิจกรรมได้ เครื่องกำเนิด ถังอลูมิเนียมิเนียม 1.2 คิว หรือเล็กกว่า
2-3 15-24 ชม. ติดเตียง เครื่องกำเนิด ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว

การให้ออกซิเจนระดับสูงแบบระยะยาว (High flow-long term oxygen therapy)

อัตราให้(lpm) ระยะเวลาให้ สภาพผู้ป่วย แหล่งกำเนิดปกติ แหล่งกำเนิดสำรอง
4-5 15-24 ทำกิจกรรมได้หรือติดเตียง ถังเหล็กขนาด 7 คิว หรือเครื่องกำเนิดประสิทธิภาพสูง หรือ Home piping ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว
6 ขึ้นไป 15-24 ชม. ทำกิจกรรมได้หรือติดเตียง ถังเหล็กขนาด 7 คิว หรือเครื่องกำเนิดประสิทธิภาพสูง หรือ Home piping ถังอลูมิเนียม 1.2 คิว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Medicox Oxygen Line : 0-2718-1218